Custom Search

รายการบล็อกของฉัน

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ประวัติแผ่นเสียง/จานเสียงครั่ง(Long played record)

ประวัติแผ่นเสียง/จานเสียงครั่ง(Long played record)
แรกสุดเป็นกระบอกอัดเสียงเคลือบ ขี้ผึ้งแบบเอดิสัน ซึ่งในเมืองไทย (สยาม) ใช้บันทึกเพลงไทยเดิม ตั้งแต่ราวปลายรัชกาลที่ 4 ต่อมาเริ่มมีการบันทึกเสียงลง แผ่นเสียง/จานเสียงครั่ง ในสมัยรัชกาลที่ 5 ส่วนใหญ่เป็นเพลงเรื่องบรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ ที่กำลังได้รับความนิยมในสมัยนั้น ซึ่งมักไม่จบในหน้าเดียว จึงต้องบันทึกต่อกันเป็นชุดหลายแผ่น
โดยทั่วไปมีขนาด 10-12 นิ้ว สปีด 78 รอบ/นาที บันทึกและเล่นกลับได้หน้าละไม่เกิน 3-5 นาที ลักษณะค่อนข้างหนาและหนัก ตกแตกง่ายอย่างจานกระเบื้อง ให้เสียงแหลมแตกพร่าและเสียงรบกวนจากหัวเข็มโลหะที่ต้องคอยเปลี่ยนบ่อย

แผ่น ครั่งในเมืองไทย เช่น ปาเต๊ะ ,อาร์ซีเอ วิคเตอร์ (ที่เรียกติดปากว่า ตราหมาหน้าเหลือง,เขียว หรือ แดง ตามป้าย ) ,พาร์โลโฟน ,โคลัมเบีย ,เดคก้า ,บรันซวิค ,แคปิตอล ,ฟิลิปส์ ,เอ็มจีเอ็ม ,เทพดุริยางค์ ,โอเดียน ,ศรีกรุง ,กระต่าย ,อัศวิน ,สุนทราภรณ์ ,มงกุฏ ,เทพนคร ,นางกวัก ,กระทิง ,นาคราช ,กรมศิลปากร แผ่นที่ใช้เฉพาะในสถานีหรือจำหน่ายบางโอกาส เช่น กรมโฆษณาการ (แผ่นดิบ ), เนรมิตภาพยนตร์ ฯลฯ

แผ่นเสียงไวนิล/อัลบั้มลองเพลย์
ช่วง ปี พ.ศ. 2491 ในต่างประเทศ บริษัทแผ่นเสียงโคลัมเบีย พัฒนาแผ่นบันทึกเสียงชนิดใหม่ได้สำเร็จ เรียกว่า แผ่นเสียง/อัลบั้มลองเพลย์ (Long played record /album) บางทีเรียก แผ่นเสียงไวนิล (Vinyl) ตามชื่อพลาสติก คุณภาพดีที่ได้จากคาร์ไบด์ (Carbide)[4> แผ่นชนิดนี้ มีขนาดบาง เบา ตกไม่แตก คุณภาพเสียงทุ่มนุ่มนวลลุ่มลึกมากขึ้น สามารถลดเสียงรบกวนจากหัวเข็มลงเหลือเพียงเล็กน้อย และบรรจุเพลงเพิ่มขึ้นด้วยขนาด 12 นิ้ว สปีด 33 รอบเศษ/นาที ปกติบันทึกได้หน้าละ 20 นาทีเศษ (ราว 6-7 เพลง/หน้า)
ในต่างประเทศ ยังคงมีผลิตบ้างจำนวนจำกัดเฉพาะกลุ่มที่ชอบฟังเสียงจากแผ่นไวนิล ทำให้แต่ละอัลบั้มมีราคาสูง ส่วนประเทศไทย เลิกผลิตแบบอุตสาหกรรมตั้งแต่ปี พ.ศ .2535

แผ่นซิงเกิล
ปี พ.ศ. 2492 บริษัท อาร์ซีเอ วิคเตอร์ ทำแผ่นเล็ก ขนาด 7 นิ้ว สปีด 45 รอบ/นาที คุณภาพเสียงด้อยกว่าแผ่นใหญ่เล็กน้อย บันทึกได้หน้าละไม่เกิน 2 เพลง เรียกกันว่า แผ่นซิงเกิล (Single) มักใช้กับเพลงเด่นๆ ที่ตัดจากแผ่นลองเพลย์ เพื่อเผยแพร่ตามสถานีวิทยุ ก่อนวางจำหน่ายอัลบั้มจริง
แผ่นไวนิลทุกขนาดมีการผลิตต่อเนื่องยาวนานถึง 30 ปี ก่อนเข้าสู่ยุคใหม่ของการบันทึกเสียงด้วยระบบดิจิตอลบนแผ่นซีดี

แผ่น ไวนิลในเมืองไทย เช่น อาร์ซีเอ ,โคลัมเบีย ,เดคก้า ,แคปิตอล ,ฟิลิปส์ ,เอ็มจีเอ็ม ,ศรีกรุง ,กระต่าย ,อัศวิน ,สุนทราภรณ์ ,มงกุฏ ,เมโทรแผ่นเสียง ฯลฯ รวมถึง แผ่นที่ใช้เฉพาะในสถานี วิทยุ อส. หรือออกจำหน่ายบางโอกาส เช่น กรมศิลปากร ,ละโว้ภาพยนตร์ และ ไทยทีวีช่อง 4 เป็นต้น
แผ่นเสียงเพลงไทย ส่วนใหญ่นิยมทำเป็นอัลบั้มไวนิลขนาด 12 นิ้ว ส่วนแผ่นครั่งขนาด 10 นิ้ว ซึ่งมีเสียงรบกวนและดูแลรักษายากไม่เป็นที่นิยมทั่วโลกนานแล้ว
http://www.youtube-nocookie.com/embed/VYTiLKOtE0A

อ้างอิง^ ประวัติแผ่นเสียงในประเทศไทย ,เว็บไซด์ วปถ.3 ,จ.นครราชสีมา,youtube
^ Gramophone Record ,Wikipedia-The Free Encyclopedia
^ Cambridge's Learner Dictionary ,Cambridge University Press ,P.707
^ สอ เสถบุตร ,Modern Thai English Dictionary ,ไทยวัฒนาพานิช หน้า 60
เรียบเรียงข้อมูลเพิ่มเติมโดย musa
ขอขอบคุณ Dhullayaskulchai Endharapal Dhullayaskulbhong Endharapalitte 
ที่แนะนำเสนอบทความนี่ขอบคุณครับ

บทความที่ได้รับความนิยม