Custom Search

รายการบล็อกของฉัน

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555

มือถือ3 มิติ และ หลักการสร้างภาพ 3 มิติ

มือถือตามหมวดหมู่การใช้งาน (Mobile Special group) เป็นระบบที่ทีมงาน thaimobilecenter จัดทำเพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นหามือถือ ได้ตรงกับการใช้งานโดย การจัดกลุ่มจะพิจารณาจากลักษณะพิเศษ หรือวัตถุประสงค์การใช้งานของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ เช่น มือถือแฟชัน จะเป็นมือถือที่เน้นรูปลักษณ์ที่สวยงาม มือถือสำหรับผู้สูงอายุ เน้นหน้าจอมีขนาดใหญ่ฟังก์ชันเรียบง่าย มือถือสำหรับถ่ายรูป เน้นการใช้งานด้านการถ่ายภาพ กล้องมีความละเอียดสูง เป็นต้น ....
           
สำหรับโทรศัพท์มือถือรุ่นหน้าจอสัมผัส  เป็นวัฒกรรมใหม่ที่สร้างขึ้นเพื่อความสะดวกสบายเหมาะกับการใช้งานที่หลากหลาย เพิ่มลูกเล่นมากมาย  เช่น  บริการอินเตอร์เน็ต  ระบบ 3G  ที่สามารถมองเห็นหน้ากันระหว่างการใช้สาย  มัลมีเดียที่หลากหลาย  การดูแผนที่  และที่โดดเด่นที่จะนำเสนอก็คือหน้าจอสัมผัสแบบ 3 มิติ  ที่สามารถมองเห็นรูปภาพได้ในลักษณะ 3 มิติ  และ กล้องถ่ายรูป 3 มิติ  อีกด้วย  และยังได้รับการพัฒนาขึ้นภายใต้โครงสร้างแบบ 3 มิติและการตอบสนองที่รวดเร็วต่อการสัมผัส โดยมีความโดดเด่นด้วยการออกแบบเมนูทรงลูกบาศก์ (Cube) และสามารถใช้ปลายนิ้วสัมผัสเพื่อหมุนเลือกใช้งานและจัดการเมนูต่างๆ ได้อย่างอิสระจากทั้ง 4 ด้าน และการทำงานของทุกฟังก์ชั่นถูกออกแบบให้มีสีสันและการตอบสนองที่รวดเร็ว รวมถึงการรองรับระบบสัมผัสแบบ Multi-touch ซึ่งจะให้รูปแบบการควบคุมด้วยปลายนิ้วแตกต่างไปจากระบบสัมผัสทั่วๆ ไปอย่างสิ้นเชิง โดยนอกจากการสั่งงานด้วยการสัมผัสแบบเดิมแล้วระบบนี้ได้เพิ่มความคล่องตัวใน การควบคุมผ่านการสัมผัสแบบ 2 จุดเพื่อสั่งงานในอีกรูปแบบหนึ่งได้ง่ายดายมากขึ้น อาทิ การใช้ 2 นิ้วในการขยายหรือย่อรูปภาพควบคุมการเลื่อนหน้าจอแทน Scroll bar หรือใช้ขยายและย่อรูป   ซึ่งเป็นนวัฒกรรมที่ทันสมัย  เหมาะสำหรับยุคนี้เลยทีเดียว

ตัวอย่างภาพยนตร์ 3 มิติ

หลักการสร้างภาพ 3 มิติ
ภาพ 3 มิตินั้นถูกสร้งขึ้นโดยอาศัยหลักทางกายภาพว่า “ตาข้างซ้าย” และ “ตาข้างขวา” ของคนเรานั้น จะมองตำแหน่งวัตถุที่อยู่บริเวณกลางตา "ตำแหน่งไม่เท่ากัน" (ก็แหงครับ เพราะตำแหน่งของตาซ้ายและตาขวาเราห่างกันตั้ง 3-5 เซนติเมตร) สามารลองทดสอบได้ง่ายๆโดยการเอา "นิ้วชี้" ยกขึ้นมาให้ห่างจากตาซัก 10 เซนติเมตร แล้วลองปิดตาซ้ายและตาขวาสลับตาดู เจ้าตำแหน่งของนิ้วชี้ที่เราเห็นด้วยตาแต่ละข้างก็จะไม่เท่ากัน แต่ลองนึกภาพดูว่าถ้าเราสามารถกระพริบตาซ้ายขวาสลับกันได้ถึง 120 ครั้งต่อวินาที ตำแหน่งนิ้งที่จะเหลื่อมซ้ายและขวากันนิดหน่อยนั้นก็จะรวมกันเป็นหนึ่งครับ และนี่ก็คือหลักการง่ายๆที่เอาทำมาทำเป็นภาพ 3 มิติครับ

ตัวอย่างภาพ3มิติ
 "ไดโนเสาร์"แทบ "ทะลุจอ" ออกมา อย่าตกใจว่าจอคอมพิวเตอร์หรือโน็ตบุ๊คของท่านเป็น 3 มิติ
เปล่าเลย !!! มันก็แค่รูปนิ่ง 2 รูปเหลื่อมซ้อนซ้ายขวากันนิดเดียวกระพริบสลับไปสลับมาก็แค่นั้นเอง

ตัวอย่างภาพ3มิติ
แบบนี้จะทำให้เราเข้าใจขึ้นเมื่อเฟรมภาพเคลื่อนไหวซ้ายและขวาสลับกันอย่างรวดเร็ว
มิติภาพจึงเกิดขึ้นมา (ลองดูจากรูปกิ่งไม้และผู้หญิงในกิโมโนได้)
สรุป !!! ทีนี้เข้าใจหรือยังครับว่าภาพ 3 มิติหลักการมันเป็นอย่างไร !!!
เรียบเรียงข้อมูลเพิ่มเติมโดยmusa

บทความที่ได้รับความนิยม