บลูเรย์
บลูเรย์ดิสค์
Blu-ray Disc
รูปแบบ High-density optical disc
การเข้ารหัส MPEG-2
H.264/MPEG-4 AVC
VC-1
ความจุ 25 GB (single-layer)
50 GB (dual-layer)
100/128 GB ( BDXL )
ขนาดบล็อก 64 kb ECC
กลไกการอ่าน 405 nm UV laser :
1× @ 36 Mbit/s (4.5 MByte/s )
พัฒนาโดย Blu-ray Disc Association
การใช้ Data storage
High-definition video ( 1080p )
High-definition audio
Stereoscopic 3D
PlayStation 3 games
บลูเรย์ดิสค์ ( อังกฤษ : Blu-ray Disc ) หรือ บีดี (BD) คือรูปแบบของ แผ่นออพติคอล สำหรับบันทึกข้อมูลความละเอียดสูง ชื่อของบลูเรย์มาจาก ช่วง ความยาวคลื่น ที่ใช้ในระบบบลูเรย์ ที่ 405 nm ของ เลเซอร์ สี "ฟ้า" ซึ่งทำให้สามารถทำให้เก็บข้อมูลได้มากกว่า ดีวีดี ที่มีขนาดแผ่นเท่ากัน โดยดีวีดีใช้เลเซอร์สีแดงความยาวคลื่น 650 nm
ประวัติ
มาตรฐานของบลูเรย์พัฒนาโดย กลุ่มของบริษัทที่เรียกว่า Blu-ray Disc Association ซึ่งนำโดย ฟิลิปส์ และ โซนี เปรียบเทียบกับ เอ็ชดีดีวีดี (HD-DVD) ที่มีลักษณะและการพัฒนาใกล้เคียงกัน บลูเรย์มีความจุ 25 GB ในแบบเลเยอร์เดียว (Single-Layer) และ 50 GB ในแบบสองเลเยอร์ (Double-Layer) ขณะที่ เอ็ชดีดีวีดีแบบเลเยอร์เดียว มี 15 GB และสองเลเยอร์มี 30 GB
ความจุของบลูเรย์ดิสค์ ซึ่งปกติแผ่นบลูเรย์นั้นจะมีลักษณะคล้ายกับแผ่น ซีดี/ดีวีดี โดยแผ่นบลูเรย์จะมีลักษณะแบบหน้าเดียว และสองหน้า โดยแต่ละหน้าสามารถรองรับได้มากถึง 2 เลเยอร์ อาทิ แผ่น BD-R (SL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Single Layer แบบหน้าเดียว มีความจุ25 GB แผ่น BD-R (DL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Double Layer แบบหน้าเดียว มีความจุ 50 GBแผ่น BD-R (2DL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Double Layer แบบสองหน้า มีความจุ 100 GB
ส่วนความเร็วในการอ่านหรือบันทึกแผ่น Blu-Ray ที่มีค่า 1x, 2x, 4x ในแต่ละ 1x จะมีความเร็ว 36 เมกะบิต ต่อ วินาที นั่นหมายความว่า 4x นั่นจะสามารถบันทึกได้เร็วถึง 144 เมกะบิต ต่อ วินาที โดยมี นักวิทยาศาสตร์จาก NASA เป็น ผู้พัฒนาต่อจาก ระบบบันทึกข้อมูลที่ใช้ในโครงการอวกาศ
เครื่องเล่นบลูเรย์รุ่นแรก
*. ฟิลิปส์ รุ่น BDP9000
*. โซนี่ Playstation 3
*. ไลท์-ออน รุ่น BDP-X1
*. ไพโอเนียร์ รุ่น BDP-HD1
*. โซนี่ รุ่น BDP-S1
*. พานาโซนิค รุ่น DMP-BD10
*. ไพโอเนียร์ รุ่น BDP-HD1
*. ชาร์ป รุ่น DV-BP1
*. แอลจี รุ่น BD100
*. ซัมซุง รุ่น BD-P1000
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย
เรียบเรียงโดย MANMAN
บลูเรย์ดิสค์
Blu-ray Disc
รูปแบบ High-density optical disc
การเข้ารหัส MPEG-2
H.264/MPEG-4 AVC
VC-1
ความจุ 25 GB (single-layer)
50 GB (dual-layer)
100/128 GB ( BDXL )
ขนาดบล็อก 64 kb ECC
กลไกการอ่าน 405 nm UV laser :
1× @ 36 Mbit/s (4.5 MByte/s )
พัฒนาโดย Blu-ray Disc Association
การใช้ Data storage
High-definition video ( 1080p )
High-definition audio
Stereoscopic 3D
PlayStation 3 games
บลูเรย์ดิสค์ ( อังกฤษ : Blu-ray Disc ) หรือ บีดี (BD) คือรูปแบบของ แผ่นออพติคอล สำหรับบันทึกข้อมูลความละเอียดสูง ชื่อของบลูเรย์มาจาก ช่วง ความยาวคลื่น ที่ใช้ในระบบบลูเรย์ ที่ 405 nm ของ เลเซอร์ สี "ฟ้า" ซึ่งทำให้สามารถทำให้เก็บข้อมูลได้มากกว่า ดีวีดี ที่มีขนาดแผ่นเท่ากัน โดยดีวีดีใช้เลเซอร์สีแดงความยาวคลื่น 650 nm
ประวัติ
มาตรฐานของบลูเรย์พัฒนาโดย กลุ่มของบริษัทที่เรียกว่า Blu-ray Disc Association ซึ่งนำโดย ฟิลิปส์ และ โซนี เปรียบเทียบกับ เอ็ชดีดีวีดี (HD-DVD) ที่มีลักษณะและการพัฒนาใกล้เคียงกัน บลูเรย์มีความจุ 25 GB ในแบบเลเยอร์เดียว (Single-Layer) และ 50 GB ในแบบสองเลเยอร์ (Double-Layer) ขณะที่ เอ็ชดีดีวีดีแบบเลเยอร์เดียว มี 15 GB และสองเลเยอร์มี 30 GB
ความจุของบลูเรย์ดิสค์ ซึ่งปกติแผ่นบลูเรย์นั้นจะมีลักษณะคล้ายกับแผ่น ซีดี/ดีวีดี โดยแผ่นบลูเรย์จะมีลักษณะแบบหน้าเดียว และสองหน้า โดยแต่ละหน้าสามารถรองรับได้มากถึง 2 เลเยอร์ อาทิ แผ่น BD-R (SL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Single Layer แบบหน้าเดียว มีความจุ25 GB แผ่น BD-R (DL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Double Layer แบบหน้าเดียว มีความจุ 50 GBแผ่น BD-R (2DL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Double Layer แบบสองหน้า มีความจุ 100 GB
ส่วนความเร็วในการอ่านหรือบันทึกแผ่น Blu-Ray ที่มีค่า 1x, 2x, 4x ในแต่ละ 1x จะมีความเร็ว 36 เมกะบิต ต่อ วินาที นั่นหมายความว่า 4x นั่นจะสามารถบันทึกได้เร็วถึง 144 เมกะบิต ต่อ วินาที โดยมี นักวิทยาศาสตร์จาก NASA เป็น ผู้พัฒนาต่อจาก ระบบบันทึกข้อมูลที่ใช้ในโครงการอวกาศ
เครื่องเล่นบลูเรย์รุ่นแรก
*. ฟิลิปส์ รุ่น BDP9000
*. โซนี่ Playstation 3
*. ไลท์-ออน รุ่น BDP-X1
*. ไพโอเนียร์ รุ่น BDP-HD1
*. โซนี่ รุ่น BDP-S1
*. พานาโซนิค รุ่น DMP-BD10
*. ไพโอเนียร์ รุ่น BDP-HD1
*. ชาร์ป รุ่น DV-BP1
*. แอลจี รุ่น BD100
*. ซัมซุง รุ่น BD-P1000
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย
เรียบเรียงโดย MANMAN