Custom Search

รายการบล็อกของฉัน

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ถ่ายหนัง 3 มิติด้วยกล้องธรรมดาก็ได้


ตัวอย่างหนังสามมิติ


ใน ปัจจุบันภาพยนตร์ 3 มิติกำลังได้รับความนิยม 
ในแทบทุกประเทศในโลก แต่เทคโนโลยีดังกล่าวก็ยังคงมีราคาแพง จนสองพนักงานบริษัทโปรดักชั่นแห่งหนึ่งในประเทศโบลิเวียคิดค้นเทคโนโลยีชนิด ใหม่ ซึ่งใช้กล้องธรรมดาในการถ่ายทำภาพยนตร์ 3 มิติขึ้นทดแทน
แม้ว่าเทคโนโลยีกล้อง 3 มิติจะแพร่หลายและได้รับความนิยมในหลายๆ ประเทศ แต่สำหรับประเทศโบลิเวีย ประเทศที่ยากจนที่สุดในภูมิภาคอเมริกาใต้ การต้องลงทุนซื้อกล้องรุ่นใหม่ที่มีราคาแพง เพื่อสร้างภาพยนตร์ 3 มิติ แทบจะเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้
แต่ข้อจำกัดดังกล่าวไม่ได้ทำให้ความตั้งใจในการสร้างภาพยนต์ 3 มิติของเออร์เนสโต้ เฟอร์นันเดซ และปาทริเชีย ควินตานิลลา สองพนักงานของบริษัทโปรดักชั่นอิมาเกน รีล ลดละลง ตรงกันข้าม ทั้งคู่กลับใช้เวลา 3 เดือนเต็มในการหาวิธีสร้างภาพยนตร์ 3 มิติจากกล้องดิจิตอลดีเอสแอลอาร์แบบธรรมดาๆ แทน  ซึ่งได้ภาพยนตร์ 3 มิติแบบที่เห็นอยู่นี้
จากวิธีการที่ทั้งคู่ค้นพบนั่นก็คือการตั้งกล้องธรรมดา 2 ตัวให้หันไปในทิศทางที่เหมาะสมทั้งในแง่ขององศาและระยะห่าง ซึ่งการคำนวณทำได้ง่ายขึ้น เพราะทั้งคู่คิดค้นขาตั้งกล้องแบบพิเศษที่สามารถใช้ถ่ายภาพทางอากาศและนำ อุปกรณ์ทั้งหมดขึ้นเครื่องบินขนาดเล็ก ทดลองถ่ายเทือกเขาและที่ราบสูงในโบลิเวีย
ปัญหาเรื่องหนึ่งที่ตามมา  หลังจากที่ทั้งคู่คิดค้นเทคนิคการใช้กล้องสำเร็จ นั่นก็คือ เขาจะฉายภาพยนตร์ให้ออกมาเป็น 3 มิติได้อย่างไร เพราะเครื่องฉายภาพยนตร์ 3 มิติ ก็ยังมีราคาแพงอีก
ทางออกของปัญหานี้คือพวกเขาเลือกใช้เทคโนโลยี "คัลเลอร์โค้ด" ของเดนมาร์ก ซึ่งใช้โปรเจ็กเตอร์สองตัวในการฉายให้ภาพยนตร์เป็น 3 มิติ
เฟอร์นันเดซกล่าวว่าข้อดีของโครงการของพวกเขาก็คือ อุปกรณ์ทุกชิ้นสามารถเคลื่อนย้ายได้ ดังนั้นพวกเขาจึงสามารถนำภาพยนตร์ 3 มิติไปฉายให้กับชาวโบลิเวียที่ไม่เคยดูภาพยนตร์ 3 มิติสักครั้งในชีวิตดูได้
เฟอร์นันเดซและควินตานิลลาใช้งบประมาณในโครงการนี้ไป 95,000 ดอลลาร์ หรือราว 2 ล้าน 8 แสนบาท ซึ่งถูกกว่างบประมาณปกติในการถ่ายภาพยนตร์ 3 มิติถึง 4 เท่า โดยขณะนี้ทั้งคู่กำลังเตรียมพร้อมในการเริ่มถ่ายทำภาพยนตร์สารคดี 3 มิติชุดใหม่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในประเทศโบลิเวีย 
เรื่องราวนี้ ทำให้เห็นว่า อุปสรรคบางอย่าง ก็ทำให้มนุษย์พยายามใช้ศักยภาพที่มีอยู่มากขึ้น เพื่อคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ที่พวกเขาต้องการ เป็นการคิดแบบสรา้งสรรมากๆครับ

บทความที่ได้รับความนิยม